วันเสาร์ที่ 27 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553

Auxiliary verbs กริยาช่วย

Auxiliary verbs กริยาช่วย

   ทำไมต้องมีกริยาช่วย
     คำกริยาโดยทั่วไปแล้ว สามารถใช้ได้ด้วยตัวของมันเอง อย่างไรก็ตาม เมื่อมีการมีการตั้งคำถาม หรือ การตอบปฎิเสธ หรือเมื่อต้องการแสดงความหมายอื่น ๆ เช่น แสดงความหมายเกี่ยวกับ Tense เช่น เน้นว่า ขณะนี้ เหตุการณ์กำลังกระทำอยู่ เป็นต้น คำกริยาโดด ๆ ไม่พอที่จะสื่อความหมายได้ จำเป็นต้องใช้คำกริยาช่วย มาช่วยเสริม เช่น ประโยคที่ว่า
        สุดาและมาลี เรียนวิชาประวัติศาสตร์ Suda and Malee study history.
คำกริยา study ไม่ต้องมีกริยาช่วยใด ๆ ก็เข้าใจความหมายแล้ว แต่ถ้าจะทำเป็นคำถาม เราต้องมีกริยาอื่นมาช่วย ในที่นี้ คือคำว่า Do
       สุดาและมาลี เรียนประวัติศาสตร์ ใช่ใหม? Do Suda and Malee study histoty?
ประโยคปฏิเสธก็เช่นเดียวกัน เราต้องเอาคำว่า do not มาช่วย เช่น
สุดาและมาลี ไม่ได้ เรียนประวัติศาสตร์ Suda and Malee do not study history.
       คำกริยาช่วย ในลักษณะนี้ เรียกว่า auxiliary verbs ซึ่งได้แก่ be, have และ do คำหล่านี้ จะช่วยขยายความหมายของ คำกริยาหลักให้มากขึ้น เช่น ให้ความหมายเกี่ยวกับ tense การปฏิเสธ หรือ การถามคำถามเป็นต้น
ยังมีคำกริยาช่วยอีกประเภทหนึ่ง ที่มีความหมายในตัวเอง
 เช่น พูดว่า ฝนอาจจะตก It may rain.
    คำกริยาช่วยในที่นี้คือ คำว่า may ซึ่งไม่มีความหมายเกี่ยวข้องกับกริยาหลัก คือคำว่า rain แต่อย่างใด แต่ช่วยเสริมความหมายของประโยค เป็นการคาดคะเน ที่ค่อนข้างแน่ใจ คำกริยาช่วยเหล่านี้ เราเรียกว่าเป็น modal auxiliary verbs ซึ่งยังมีอีกหลายคำ เช่น       ผมต้องกลับบ้านแล้ว I must go home now.
     คำว่า must เป็น modal auxiliary verb ช่วยเพิ่มความหมายว่า มีความจำเป็น
อายุเธอต้องไม่ถึง 45 แน่นอน เธอดูหน้าอ่อนจัง She can't be forty-five yet. She looks so young.
ประโยคนี้ คำว่า can't ซึ่งย่อมาจากคำว่า cannot มีความหมายแสดงให้เห็นว่า ผู้พูดมีความมั่นใจมาก เพราะดูจากรูปร่างหน้าตาแล้ว ทำให้นึกเช่นนั้น
           คำกริยาช่วยเหล่านี้ช่วยบอกความหมายเพิ่มเติมเกียวกับความรู้สึกของผู้พูด เช่น มีความมั่นใจ เชื่อแน่ หรือไม่ค่อยแน่ใจ เป็นต้น
เรามาดูคำกริยาช่วย ที่น่าสนใจบางคำ มีดังนี้
Be มีรูปแบบที่เปลี่ยนไปตามประธาน และ Tense ดังนี้
ประธาน
ปัจจุบัน
อดีต
ตัวอย่าง
I
You
He, She, It
am
are
is
was
were
was
I am studying
You are smiling.
She is smiling.
We
You
They
are
were
We are studying
Past Participle: been
I have been to Chiangmai.

     Be เป็นได้ทั้งกริยาช่วย (auxiliary verb) และกริยาแท้ เช่น
Narumon is smiling. เป็นกริยาช่วย บอกว่าเหตุการณ์กำลังเกิดขึ้นในขณะที่พูด คือ นฤมลกำลังยิ้ม
Narumon is kind. เป็นกริยาแท้ของประโยค คำว่า kind เป็นคำ adjective ไม่ใช่คำกริยา
เราใช้ Be ในฐานะกริยาช่วย ในเหตุการณ์ต่อไปนี้
  1. ใช้เพื่อให้ความหมายว่าเป็นผู้ถูกกระทำ หรือ Passive เราใช้ร่วมกับ past participle หรือ กริยาช่อง 3 เช่น
    Suda was carried to hospital. สุดาถูกหามส่งโรงพยาบาล
  1. ใช้เพื่อบอกความหมายว่าเหตุการณ์กำลังเกิดขึ้น ใช้คู่กับ present participle เช่น
Prasit was watching television when I came in. ประสิทธิ์ กำลังดูโทรทัศน์ ตอนที่ผมเข้าไป
  1. Be ใช้คู่กับ to และ กริยาช่องที่ 1 มีความหมายถึงความจำเป็น หรือ เป็นการวางแผนไว้ในอนาคต เช่น
You are to go to your room immediately. เธอต้องไปห้องเธอเดี๋ยวนี้
Priminister Taksin is to make a speech tomorrow. นายกทักษิณ จะปราศรัยพรุ่งนี้


  Have
Have เป็นได้ทั้งกริยาแท้ และกริยาช่วย
เราใช้ have ที่เป็นกริยาช่วย เพื่อแสดงว่าอยู่ใน Perfect Tense เราใช้ร่วมกับ กริยาที่เป็น past participle หรือ กริยาช่องที่ 3 เช่น
I have seen this man before. ผมเคยเห็นผู้ชายคนนี้มาก่อน
เราใช้ have ที่เป็นกริยาแท้ ในกรณีต่อไปนี้
  1. ใช้ในความหมายว่า มี หรือเป็นเจ้าของ เช่น
Do you have any money? คุณมีเงินบ้างไหม
  1. ใช้กับการกินอาหาร เช่น
ผมมักจะดื่มนมก่อนนอน I usually have som milk before going to bed.
  1. ใช้กับการต้อนรับแขก เช่น
ผมให้สมศักดิ์มาพักด้วย 3 วัน I had Somsak with me for three days.

                         Quiz:  Auxiliary Verbs

Q1 - We ____ done it yet.



Q2 - ____ you think they are coming tonight?




Q3 - ____ you see them yesterday?



Q4 - ____ you going this evening?


Q5 - How long ____ it take you to get home?


แหล่งเรียนรู้เพิ่มเติม

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น